ราคากัญชง

ราคากัญชง

ราคาซื้อขายกัญชง

 

การซื้อขายผลผลิตกัญชง มีส่วนคล้ายห้องค้าหุ้น แต่ก็มีส่วนต่าง

หุ้นนั้น ผู้ซื้อผู้ขายเกือบทั้งหมดไม่รู้จักกัน ซื้อขายแบบน้ำขึ้นน้ำลง…

หุ้นแต่ละหุ้นนั้น หากถือเป็นสินค้าก็มีมาตรฐานคัดมาแล้วในห้องซื้อขาย

แตกต่างจากช่อดอกกัญชง ที่ผู้ขายผู้ซื้อต้องมาคัดคุณภาพก่อนซื้อขาย!

 

หุ้นนั้นใครเสนอขายราคาถูก ผู้ขายมักขายได้และได้เงินไปใช้ก่อน

ผู้ใดเสนอราคาแพงก็ต้องรอผู้ซื้อที่สู้ราคา … ผู้ซื้อแพงมักมาทีหลังหรือโนโชว์

บางทีผู้ขายเก็งผิด ไม่มีคนซื้อ ราคาร่วงทุกวันเพราะยังไม่ตัดใจขาย!

ขาดทุนทุกๆวันที่หุ้นราคาร่วง สูญเสียโอกาส…

 

ช่อดอกกัญชงก็เป็นสินค้าราคาแพง ผู้ขายคือเจ้าของสินค้า

ต้นทุนสินค้าไม่สลับซับซ้อนเหมือนต้นทุนมือถือ

ทั้งผู้ขายผู้ซื้อต่างก็รู้ต้นทุนกัน และเกือบทุกคนรู้จักกันก่อนซื้อขาย

หากผู้ขายขายแพง ผู้ซื้อคงปลูกเองเพื่อลดต้นทุน

กลับกลายเป็นคู่แข่งผู้ขายขึ้นมาใหม่เสียเอง…

 

การคิดต้นทุนมาตรฐานหาอ่านจากกูเกิล!

ส่วนต้นทุนจริงต้องคิดรายละเอียดแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน

Economies of Scale คือ ต้นทุนจากขนาดของฟาร์ม

แต่ละคนแตกต่างกัน ! รวมต้นทุนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง…

 

บางคนใช้แรงงานพ่อแม่ บางคนจ้างคนเดียวดูแลฟาร์มทั้งฟาร์ม!

บางคนจ้างแบบมืออาชีพ จ่ายเท่าไรเท่ากัน!

บางคนใช้รถโตโยต้าขนส่ง บางคนใช้ซูเปอร์คาร์ขนช่อดอก

ขนเสร็จก็ไปรับแฟนสาวไปทานข้าวต่อ…

นั่นสำคัญกว่าอื่นใด…

 

ให้คิดต้นทุนกันให้เหมาะสมที่จะทำธุรกิจต่อเนื่องไม่ใช่ฮ้อบบี้!

ไม่ใช่ซื้อล็อตเตอรี่ แต่เป็นความมานะบากบั่น!

 

ต้นทุนต่ำ ผลผลิตต่อต้นต่อไร่ต่อต้นที่มาก คุณภาพที่ดี!

คือคำตอบสุดท้าย! ต้องหาและปฏิบัติกันเอาเอง…

หากยังหาไม่ได้ ให้สอบถามคนรอบข้าง

ยุคนี้ออนไลน์ หาข้อมูลได้หลายอย่าง

สำคัญคือทำให้ได้ อยู่ในขอบเขตลงทุน

หากยังหาไม่ได้ แนะนำให้อยู่บ้านดูบอลเขาเตะไปก่อน

จนพร้อมลงสนามไปชิงชัย จึงลงไป…

ทุกคนเป็นกำลังใจให้! จากนั้น…

 

เมื่อผู้ซื้อซื้อสินค้าไปก็ไปขายต่อหรือแปรรูปจนถึงมือสุดท้าย

มือสุดท้ายคือคนกินคนใช้ที่เป็นตัวตัดสินราคา…

หากสินค้าไม่ดีจริง ผู้ซื้อสุดท้ายซื้อครั้งเดียวไม่หวนกลับ

ดีมานด์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ก็หยุดยั้ง ธุรกิจเดินต่อไม่ได้!

 

ร้านเซเว่นร่ำรวยด้วยทดสอบราคาจากพวกเรานั่นเอง

กล้วยหอมทองลูกละแปดบาทขายเป็นลูก

ได้ราคามากกว่าขายเป็นหวีและเครือในตลาดสด

ทั้งทำเลสะดวก ติดแอร์ แพ็คเกจจิ้ง ราคาซอยย่อยต่อลูก

สุดท้าย คนบริโภคนั่นแหละตัดสินใจในราคาซื้อสุดท้าย

จากนั้น ย้อนถอยหลังมายังคนปลูกกล้วยตามราคารับซื้อเป็นทอดๆ

หากร้านเซเว่นกดราคารับซื้อเกษตรกรก็คงไม่มีกล้วยหอมไปขายทำกำไร

นี่คือสมดุลธุรกิจทั้งสินค้า ราคาและเวลา…

 

จึงว่า หากจะอยู่ยั่งยืนในธุรกิจกัญชง…

ผู้ขายให้คิดต้นทุนช่อดอกอย่างสมเหตุผล

ลงทุนครั้งแรกก็ซอยย่อยตามหลักค่าเสื่อมราคา

ไม่ใช่คิดต้นทุนซูเปอร์คาร์เวลาส่งช่อดอก…

ค่าใช้จ่ายรายฤดูกาลก็เป็นไปตามความจริง

หาต้นทุนตามจริงที่เหมาะสม

บวก+กำไรที่พึงได้ต่อรอบต่อปีเก็บเกี่ยว (คูณ2คูณ3)

เสนอขายตามราคาขายที่ยั่งยืนยาวนาน

คงไม่ขาดทุน … เพราะตลาดมีความต้องการยามนี้

ทั้งอาจจะได้กำไร 20%ต่อรอบหรืออาจ 60%ต่อปี

รายได้ดีกว่าปล่อยกู้ดอกเบี้ยโหดร้ายผิดกฎหมาย!

หลายชาติสร้างตัวสร้างชาติจากการค้าขายตั้งราคาเช่นที่ว่า!

 

เพียงเท่านี้ ผู้ซื้อทั่วโลกคงแห่แหนเข้ามาไม่ต้องโฆษณาหา

แถมราคาปลายทางที่ไม่แพง ก็กระตุ้นดีมานด์ขึ้นมาใหม่ทุกๆวัน

ผู้บริโภคหน้าใหม่เกิดขึ้นทุกวัน

ทำให้ธุรกิจกัญชงอยู่ได้อย่างยาวนาน…

แข่งขันต่างชาติก็ยังได้แบบยั่งยืน!

แบบตัดราคาขายชนิดผู้ขายขายถูกก็ยังมีกำไรเพียงพอ

 

แต่หากผู้ขายสนใจขายราคาแบบครั้งเดียวผู้ซื้อแบกรับไม่ได้!

วงจรสร้างเศรษฐกิจใหม่คงหมุนไปได้ไม่ครบรอบ

ล้อเกวียนพังสะบั้น ล้อยางแตกปะไม่ได้ …

ระบบการค้าขายกัญชงแข่งขันไม่ได้

สิ่งที่ทุกคนคาดหวังกลับพังครืน

เพราะทุกคนยังไม่เข้าใจในกฎเกณฑ์ อุปสงค์ อุปทาน ราคาและเวลา!

จึงแลกเปลี่ยนมาให้อ่านดู!

 

สุดท้ายให้พิจารณา…

ผู้ขายเป็นเจ้าของสินค้า เป็นผู้ตั้งราคาจะไปบังคับผู้ซื้อไม่ได้!

หากผู้ขายเห็นว่าราคาต่ำ ก็ต้องหาผู้ซื้อรายอื่นๆทุกช่องทาง

เป็นหลักทั่วไปในการค้า … ทุกอย่างไม่มาเองถ้าไม่ไขว่คว้า

แต่ให้ยึดหลักคุณภาพสินค้าและราคา ผู้ซื้อจะมาเอง

ตราบใดที่สินค้ามีความต้องการในตลาด!

ผู้ซื้อซื้อสินค้าไปทำกำไรจนถึงปลายทาง…

แบ่งปันกำไรไปคนละตอน จนถึงตลาดต่างประเทศ

ทุกคนต่างร่ำรวยเพราะได้เงินค้าขาย

จากคนอาชีพอื่นในประเทศและทั่วโลก!

 

ID Line: nvitoon

11/2/65

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

This site is registered on wpml.org as a development site.