ความรู้เกี่ยวกับ PPHD และ LUX

Cr.คุณวิฑูร

แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอนุภาค
หมายถึงเป็นทั้งคลื่นทั้งอนุภาค
หากเป็นคลื่น
ก็เป็นคลื่นแม่เหล็กและคลื่นไฟฟ้าด้วย
หากเป็นอนุภาค คล้ายลูกเทนนิสขนาดซุปเปอร์จิ๋ว
เรียกว่า โฟตอน (photon)

วัดจำนวนโฟตอนกัน เป็น โมล และ ไมโครโมล

  • เราพูดค่า ลักซ์ คือ เราพูดค่าความสว่างของแสงที่ตามองเห็น

    เราพูดค่า PPFD คือ เราพูดค่าโฟตอนที่พืชใช้สังเคราะห์แสง

    เราไม่เรียกปนกัน เพราะค่าทั้งสองไม่สัมพันธ์กัน

    เพียงมีแนวโน้มว่า ค่าลักซ์มาก ค่า PPFD ก็มาก

    แต่ก็ผิดพลาดในแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน

 

  • พืชทุกชนิดมีค่าความต้องการแสงที่ใช้สังเคราะห์แสงค่าหนึ่งๆ

    ตามอายุและวัยที่เติบโต (growth stage)

    เรียกว่า ค่า DLI (Daily Light Integral)

  • ค่า DLI น้อย พืชก็สร้างอาหารได้น้อย
    ค่า DLI มากเกิน พืชก็ไม่ต้องการ ไม่สนใจ
    แถมแสงส่วนเกินนี้กลับไปทำลายเซลล์พืชด้วย
    เหมือนคนอาบแดดเกิดมะเร็งผิวหนัง ถึงตายได้!

–ทั่วไปค่า DLI นี้อยู่ที่ 30-45 ไมโครโมลต่อ (ตรม-วัน)
DLI ของพริกไทย อยู่ที่ 30-40
ผลจากพริกไทยเข้าตา ก็คงมาจากแสงแดดนี่แหละ!

–แสงแดดและแสงเทียม ก็คือ คลื่นและอนุภาคเหมือนกัน!
แต่แตกต่างกันที่พลังงานที่มาควบคู่กัน
เหมือนแม่ปลาวาฬกับลูกปลาโลมา
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน

–แสงแดดหาได้ฟรี ส่วนแสงเทียมต้องจ่ายเงินให้การไฟฟ้า
แสงแดดควบคุมด้วยการบังแดด แต่ควบคุมแหล่งกำเนิดไม่ได้
พืชต้นเล็กต้นเด็กจึงมักเหี่ยวแห้งตายท่ามกลางแสงแดด
เพราะใช้หลัก natural selection อ่อนแอตาย แข็งแรงอยู่ได้!

 

 

–ส่วนแสงเทียมควบคุมแหล่งกำเนิดได้
จึงมักนำมาเพาะต้นกล้าให้แข็งแรงในตู้ผ้าใบทึบ
..ก่อนนำไปวัดไปฟัดกับแสงแดดข้างนอก
ขอให้สูงสักหัวเข่าถึงเอว..(; สูง 15 ซม คงยังเด็กเกินไป!)

–ส่วนเชื้อราที่ว่า
คงยกธงขาวแพ้ต่อแสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงกว่ามาก
จึงทำให้กัญชงกัญชาดูทนทานกว่า
ไม่ใช่สาเหตุอื่น แม้แต่มดเองยังหลบลงใต้ดิน!

 

This site is registered on wpml.org as a development site.