ข้อมูลเกี่ยวกับ CPTPP, UPOV, และ WIPO

ข้อมูลเกี่ยวกับ CPTPP, UPOV, และ WIPO

ข้อมูลเกี่ยวกับ CPTPP, UPOV, และ WIPO

เครดิตภาพ : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2094335

CPTPP: The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership

UPOV: International Union for the Protection of the New Varieties of Plants

WIPO: World Intellectual Property Organisation

OAPI: The Organisation Africaine de la Propriété Intellectuelle

 

1) CPTPP ชื่อเดิมคือ TPP (ก่อตั้ง ค.ศ. 2006) ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ (สหรัฐอเมริกาถอนตัว)

2) CPTPP เป็นข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจประเทศภาคพื้นแปซิฟิก ไม่เกี่ยวข้องกับ UPOV  (อ่านว่า ยูพอพ) และ WIPO (อ่านว่า ไวโป)

(TPP : Trans-Pacific Partnership คือประเทศรอบมหาสมุทร(หรือแผ่นเปลือกโลก) แปซิฟิกที่ประกอบด้วยประเทศผู้ก่อตั้ง 11 ประเทศ)

3) CPTPP มีสมาชิก 9 ใน 11 ประเทศที่เป็นสมาชิกใน UPOV (ยกเว้น บรูไนและมาเลเซีย)

4) หนึ่งในข้อตกลงเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์ “เน้นอุตสาหกรรมเกษตร” CPTPP จึงบังคับให้สมาชิก 11 ประเทศทั้งหมดหรือสมาชิกใหม่ที่จะเข้าร่วม CPTPP ต้องปฏิบัติตามหรือเข้าเป็นสมาชิกของ UPOV (คือ ปฏิบัติตามข้อตกลง UPOV ด้วยการออกกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกัน) บางประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งของ CPTPP เช่น บรูไนและมาเลเซียจึงกำลังดำเนินการเข้าเป็นสมาชิก UPOV เพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลง CPTPP

5) ข้อตกลง UPOV เป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ Plant Breeders ทั้งหลายที่ให้คุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (ผู้คนมักเข้าใจว่า เป็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา IP (Intellectual Property) ที่ WIPO (สหประชาชาติ) ในระดับโลกดูแล/กำกับอยู่)

6) WIPO เป็นเรื่องเกี่ยวกับ IP ที่ไม่ใช่การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (The Protection of New Varieties of Plants) จึงไม่มีหน่วยงานด้านนี้เพื่อดูแลและปกป้องด้วยไม่เกี่ยวกัน แต่สาระเพื่อทรัพย์สินทางปัญญาเช่นเดียวกัน ในทางปฏิบัติจึงให้ UPOV ดูแล/กำกับอยู่และมีการออกกฎหมายเฉพาะขึ้นในระบบ sui generis statutes (Latin)

(กรณีเดียวกันกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญาของกระทรวงพาณิชย์ และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร ของประเทศไทย ที่ออกกฎหมายเฉพาะขึ้น)

7) UPOV ก่อตั้งปี ค.ศ. 1961 ปัจจุบันมีสมาชิก 76 ประเทศ (ไม่เกี่ยวข้องกับ WIPO) ด้วยเป็นเรื่องคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ทั้ง 74+1(OAPI)+1(EU) ประเทศ/กลุ่มประเทศในระดับรัฐบาล UPOV จึงได้อิงสหประชาชาติของ WIPO โดยให้ เลขาธิการ (Secretary-General) ของ UPOV เป็นคนเดียวกับ WIPO (Director General) ชื่อ Mr. Daren Tang ชาวสิงคโปร์ ทั้งมีสำนักงานใหญ่ที่เดียวกัน

(ประเทศจีนเป็นสมาชิก UPOV ตั้งแต่ ปีค.ศ. 1999)

8) UPOV เป็นคนละองค์กรกับ WIPO เพราะโดยประวัติการก่อตั้งมาจาก Conventions (การประชุมเพื่อกำหนดข้อตกลงระดับชาติหรือระดับโลก) ที่แตกต่างกันของ UPOV 1961, 1972, 1978, และ 1991

(มีประเทศสมาชิกเพียง 17 ประเทศเท่านั้น เช่น จีน แอฟริกาใต้ โคลัมเบีย อุรุกวัย เอควาดอร์ ที่ยังคงอยู่ภายใต้ UPOV Convention (1978))

9) การสมัครเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ให้ยื่นใบสมัครกับเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิก UPOV ตามข้อมูลข้างล่างนี้

 

การจดทะเบียนพันธ์ุพืชใหม่ ตาม UPOV ต้องมีลักษณะ {nduss}

n: new; d: distinct; u: unique; s: stable; และ s: suitable name

 

( จาก FAQ ของ UPOV)

*Where do I apply for protection of a variety?

*In order to obtain protection, the breeder needs to file individual applications with the authorities of UPOV members entrusted with the task of granting breeders’ rights

(see https://www.upov.int/members/en/pvp_offices.html).

 

UPOV has developed UPOV PRISMA, an online tool which helps applicants to apply for breeders’ rights with all participating PVP Offices, via the UPOV website

(see https://www.upov.int/upovprisma/en/index.html).

 

10) การนำเข้าเมล็ดพันธ์ุเป็นข้อตกลงการค้าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในระดับเอกชน ยกเว้นผู้ขายสนใจการคุ้มครองทางกฎหมายโดย UPOV  ของประเทศผู้ซื้อว่า ได้เข้าเป็นประเทศสมาชิกของ UPOV หรือไม่?

 

*ข้อสังเกต

 

-หากประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิก UPOV ผู้ขายอาจไม่สนใจเพียงขายให้-ได้เงิน ก็พอใจแล้ว คนไทยนำเข้ามาได้ เอาเมล็ดพันธ์ุนำเข้ามาเพาะขายทั่วไป กฎหมายไทยก็มีผลบังคับคนขายไม่ได้ เพราะไม่คุ้มครองคนขายต่างประเทศ นอกจากคนขายต่างประเทศได้มาจดทะเบียนพันธ์ุพืชใหม่ในประเทศไทย (นอมินิ)

 

-ในเชิงกลับกัน อนาคตหากเราพัฒนาพันธ์ุพืชใหม่แล้วขายส่งออก ก็ไม่สามารถใช้กฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศไปบังคับประเทศใดๆได้ ด้วยประเทศไทยไม่เป็นสมาชิก UPOV จึงไม่สามารถบังคับผู้ซื้อเมล็ดพันธ์ุพืชใหม่ของเราไปปลูกในต่างประเทศได้เช่นกัน

 

 

รวบรวมโดย

LINE ID: nvitoon

วิฑูร เนติวิวัฒน์

7 มกราคม 2564

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

This site is registered on wpml.org as a development site.