แสงแดดกับแสงเทียม

แสงแดดกับแสงเทียม

แสงแดดกับแสงเทียม

 

แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอนุภาค

หมายถึงเป็นทั้งคลื่นทั้งอนุภาค

หากเป็นคลื่น

ก็เป็นคลื่นแม่เหล็กและคลื่นไฟฟ้าด้วย

หากเป็นอนุภาค คงคล้ายลูกเทนนิสขนาดซุปเปอร์จิ๋ว

เป็นก้อนพลังงาน (discrete) ไม่มีมวล

เรียกว่า โฟตอน (photon) ที่มีทั้งความยาวคลื่นและความถี่

วัดจำนวนโฟตอนกัน เป็น โมล และ ไมโครโมล

และวัดพลังงานเป็น ควอนตัม (quantum)

เราพูดค่า ลักซ์ คือ เราพูดค่าความสว่างของแสงที่ตามองเห็น

เราพูดค่า PPFD คือ เราพูดค่าโฟตอนที่พืชใช้สังเคราะห์แสง

เราไม่เรียกปนกัน เพราะค่าทั้งสองไม่สัมพันธ์กัน!

เพียงมีแนวโน้มว่า ค่าลักซ์มาก ค่า PPFD ก็มาก

ทั้งค่าทั้งสองต่างผิดพลาดในแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน

พืชทุกชนิดมีค่าความต้องการแสงที่ใช้สังเคราะห์แสงค่าหนึ่งๆ

ตามอายุและวัยที่เติบโต (growth stage)

เรียกว่า ค่า DLI (Daily Light Integral)

 

ค่า DLI น้อย พืชก็สร้างอาหารได้น้อย

ค่า DLI มากเกิน พืชก็ไม่ต้องการ ไม่สนใจ

แถมแสงส่วนเกินนี้กลับไปทำลายเซลล์พืชด้วย

เหมือนคนอาบแดดเกิดมะเร็งผิวหนัง ถึงตายได้!

 

ทั่วไปค่า DLI นี้อยู่ที่ 30-45 ไมโครโมลต่อ (ตรม-วัน)

DLI ของพริกไทย อยู่ที่ 30-40

ผลจากพริกไทยเข้าตา ก็คงมาจากแสงแดดนี่แหละ!

 

แสงแดดและแสงเทียม ก็คือ คลื่นและอนุภาคเหมือนกัน!

แต่แตกต่างกันที่พลังงานที่มาควบคู่ที่มากมายกับน้อยนิด

เหมือนแม่ปลาวาฬกับลูกปลาโลมา

และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน!

 

แสงแดดหาได้ฟรี ส่วนแสงเทียมต้องจ่ายเงินให้การไฟฟ้าฯ

แสงแดดควบคุมด้วยการบังแดด แต่ควบคุมแหล่งกำเนิดไม่ได้!

พืชต้นเล็กต้นเด็กจึงมักเหี่ยวแห้งตายท่ามกลางแสงแดด

เพราะใช้หลัก natural selection อ่อนแอตาย แข็งแรงอยู่ได้!

ชาติพันธ์ุม้งใช้ถึงสามแสนเมล็ดกัญชงต่อไร่เพื่อปลูกเอาเส้นใยไม่กี่ต้น

ปัจจุบันมีความเข้าใจดีขึ้น คงใช้เมล็ดพันธ์ุน้อยลงมากๆ!

 

ส่วนแสงเทียมควบคุมแหล่งกำเนิดได้

จึงมักนำมาเพาะต้นกล้าให้แข็งแรงในตู้ผ้าใบทึบหรือโรงเรือน

ก่อนนำไปวัดไปฟัดกับแสงแดดข้างนอก

ขอให้สูงสักหัวเข่าถึงเอว ; สูง 15 ซม คงยังเด็กเกินไป!

แม้แต่เชื้อราที่ว่าแน่

ก็ยกธงขาวแพ้ต่อแสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงกว่าแสงเทียมมาก

จึงทำให้กัญชงกัญชาดูทนทานเชื้อโรคเชื้อรากว่าแสงเทียม

ไม่ใช่สาเหตุอื่น แม้แต่มดเองยังหลบแสงแดดลงใต้ดิน!

 

 

nvitoon

วิฑูร เนติวิวัฒน์

12 เมษายน 64

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

This site is registered on wpml.org as a development site.