-
วัสดุที่ใช้ปลูกคลุมโรงเรือน คือ แผ่นพลาสติกUVใส สแลนกรองแสง มุ้งลวด
Cr.อ.khomsun
รูปตังอย่าง โรงเรือนgreen house ของคุณkhomsun
ค่าวัสดุ ตาข่าย และพลาสติกขนาด 200 ไมครอน มุงหลังคา รวม 7000 บาท
ค่าแรงช่างรับเหมาก่อสร้าง 11,000 บาท
ค่าวัสดุอื่น ๆ ตะปู รอก น๊อต ฯลฯ ประมาณ 2,000 บาท
ไม้สักปลูกเองอายุ 30 ปี จ้างแรงงานแปรรูป เมตรละ 30 บาท หมดเงิน 20,000 บาท ไม้ยังเหลือใช้งานอีกได้เป็นหลัง
Cr.อ.วิฑูร
Greenhouse ทั้งแบบ B1 (พลาสติก) และแบบ B2 (มุ้งไนลอน) ต้องมีระบบอีแวป (evaporative cooling system) หรือ ระบบพัดลมระบายอากาศ (fan ventilation system) ด้วยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
-
มุ้งไนล่อน (Nylon net)!
มุ้ง 16 ตา 20 ตา คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?
(ปรกติ เรามักใช้ 32 ตาในการปลูกกัญชง)
คำว่า 16 ตา, 20 ตา, หรือ 32 ตา หมายถึง จำนวนเส้นด้าย (ไนล่อน) ใน 1 ตารางนิ้ว (square inch) โดยแนวตั้งมีเส้นด้ายทั้งหมด 16 เส้น และแนวนอนอีก 16 เส้น สำหรับมุ้ง 20 ตานั้นก็จะมีเส้นด้ายในแนวตั้ง 20 เส้นและแนวนอนอีก 20 เส้น แปลว่ามุ้งไนล่อนรุ่น 20 ตานั้นจะมีความถี่ใน 1 ตารางนิ้วมากกว่า 16 ตานั้นเอง หรือเราอาจเรียกว่า ความถี่เส้นด้าย (thread frequency) มีขายตามสี ขนาดหน้ากว้างและยาวต่างๆกัน
หากสมมติ นึกว่า มีกี่ (รู) ใน 1 ตร ซม?
ถ้าเรานับรูจตุรัสที่มีขนาดกว้างยาวประมาณ 1.0 มม x 1.0 มม
ใน 1 ตร ซม ก็จะมีรูถึง 100 รู เข้าไปแล้ว !“ตา”ในความหมายมุ้งไนล่อน จึงไม่ใช่ “รู” ที่เข้าใจกัน!
หากนับรู (ที่มักเข้าใจว่าเป็น ตา) ของ 16 ตา
แนวตั้ง 16 เส้น มี 15 ช่อง; แนวนอน 16 เส้น มี 15 ช่องเช่นกัน
คือ มีจำนวนรู 15 x 15 = 225 รู
ที่การเลือกตาขึ้นกับขนาดของแมลงที่จะมุดเข้าไปกัดกินพืชของเรา!
-
การใช้ตาข่ายกรองแสงใน green house
การลดแสงใน green house ใช้วิธีง่ายๆคือ กางสแลนออกมาบัง
การลดความร้อน ใช้พัดลมระบายอากาศ หรือ อีแวป (evaporative cooling system)
*แสง ความร้อน ต่างเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือเป็นคลื่นที่เป็นทั้งแม่เหล็กและไฟฟ้า
*แสงเป็นทั้งคลื่น (wave)และอนุภาค (photon)
ปกติใช้มุ้งไนล่อนสีขาว