ข้อจำกัดการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์

ข้อจำกัดการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ และ/หรือสารที่เป็นตัวทำละลาย (solvent) ที่ใช้ในการสกัด

  • ผู้ที่มีอาการรุนแรงของ unstable cardio-pulmonary disease (angina, peripheral vascular disease, cerebrovascular disease และ arrhythmia) หรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ,โรคหลอดเลือดสมอง

  • ผู้ที่มีอาการโรคจิตมาก่อน หรือมีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน (concurrent active mood disorder)

  • หลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิดหรือสตรีที่วางแผนว่าจะตั้งครรภ์

หมายเหตุ: ทั้งนี้ควรคำนึงถึงข้อควรระวังอื่นๆ ในการใช้สารสกัดกัญชา ดังนี้

  • การส่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสมองที่กำลังพัฒนาได้ ดังนั้นผู้สั่งใช้ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการสั่งใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชา

  • ผู้ที่เป็นโรคตับ

  • ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก

  • ผู้ใช้ยาอื่นๆ โดยเฉพาะยากลุ่ม opioids และยากล่อมประสาท อาทิ benzodiazepines

  • ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอ ดังนั้นการใช้จึงควรเริ่มต้นในปริมาณที่น้อยและปรับเพิ่มขึ้นช้าๆ

 

ข้อจำกัดการใช้ตำรับยาจากกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

1)ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้กัญชาและส่วนประกอบอื่นๆ ในตำรับยาแผนไทยที่มีภัญชาปรุงผสมอยู่

2) ผู้ป่วยโรครื้อรังขั้นรุนแรงหรือไม่สามารถคุมอาการได้ เช่น โรคหัวใจที่ยังมีอาการกำเริบเป็นระยะๆ โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ เป็นต้น

3) ผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับและไตผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีภาวะทางคลินิกอื่นๆ ซึ่งแพทย์ให้ความเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

5) ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (เฉพาะตำรับที่ เป็น ข้อห้าม)

6) ผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง หรือผู้ป่วยโรคติดเชื้อในระยะแพร่กระจาย

7) ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคจิตเวช ได้แก่ โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว และมีอาการจิตเวช ดังกล่าว (ทั้งนี้ควรปรึกษากับจิตแพทย์)

8) ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก

9) ระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ และยาต้านการชัก รวมทั้งแอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่

 

This site is registered on wpml.org as a development site.