ระบบรดน้ำ

…………….not finish…………

Cr.อ.keng ,อ.ภัทรชัย

Cr.อ.keng ; เริ่มจากแหล่งน้ำ ไปจบที่การจ่ายน้ำให้พืช ละกันนะครับ

-ใครที่อยู่ใกล้ ชลประทาน ให้พยายาม ดึงน้ำมาให้ได้ครับ จะลดต้นทุนได้ดี ให้หลีกเลี่ยงน้ำประปา เพราะต้นทุนสูงครับ

-ส่วนใครที่ อยู่ใกลชลประทาน แต่มีพื้นที่กว้าง พยายามขุดบ่อเก็บน้ำครับ

-ส่วนท่านใดที่มีพื้นที่จำกัด ไม่แนะนำให้ขุดครับ เจาะปาดาล น้ำตื้น หรือ ลึก ไปเลยคับ แล้วใช้ถังกักเก็บแทนคับ

-เรื่องการกรองน้ำปาดาล ผมแนะนำไปแล้วนะครับ

วิธีทำให้ดึงน้ำบาลดาล ผ่านตระแกรง ก่อนลงถังพักใบแรก เราเรียกว่าถังพักน้ำดิบ แล้วดันน้ำผ่านถังกรอง(สาร) เพื่อเก็บในถังน้ำดี ก่อนใช้กับ ต้นไม้

….. มาต่อเรื่องการจ่ายน้ำไปหาต้นไม้เลยนะครับ
ผมขออนุญาติ ใช้ภาพของ พี่สมาชิกท่านนึ่ง เพื่อง่ายต่อความเข้าใจนะครับ

ในภาพ จะเห็นว่า ด้านบนสุดของกระดาษ เป็น ฐานจ่ายน้ำ ….. ส่วนวงกลม ใช้แทนแปรงต้นไม้ ที่น้ำต้องไปถึง

ผมตีความยาวของแปลง ประมาณ 80 ม.
ระยะปลูก 2*2 ม.

มาต่อกันนะครับ ท่านใดต้องการเสริม เขิญเลยนะครับ เผื่อผมผิดพลาดประการใด …..เริ่มที่ฐานจ่ายน้ำ

วิธีเลือกปั้ม ….ให้ดูจากพื้นที่เป็นหลักนะคับ ถ้าเป็นพื้นที่ตามภาพ พื้นที่ 1 ไร่ ผมเลือกปั้ม 1.5 -2 แรง ครับ
สามารถ ใช้ได้กับไฟบ้าน ได้ครับ
มีความแรงการให้น้ำ ที่เราสามารถกำหนดพื้นที่ได้ดี

การวางปั้มน้ำควรวางให้สูงกว่าแปลง ปลูกนะครับ ถ้าวางต่ำกว่าแปลงปลูก หากปั้มหยุดทำงาน น้ำจะไหลย้อนจากที่สูงลงที่ต่ำ (ไหลย้อนเข้าหน้าปั้ม) ทำให้ใบพัดหมุนสวนทาง ปั้มจะพังเอาง่ายๆ คับ อันนี้เป็นทริคที่หลายคนมองข้าม จะเสียตังเอาง่ายๆนะครับ หรือถ้าจำเป็น ให้ต่อ เช็ควาว ดักไว้

มาต่อที่เรื่อง ท่อจ่ายน้ำ ปัจจุบัน บ้านเรามีท่อ pvc กับ pe ให้เลือกใช้งาน …..

ส่วนมากงานสวน (สนาม) ผมจะเลือกใช้ท่อ pe ครับ มีหลายขนาดให้เลือก ท่อ 1 ม้วน ยาว 100ม ขึ้น แต่ท่อ pvc จำกัดแค่ 4ม.ต่อ1เส้น …..ที่ผมไม่ใช้ pvc เพราะมันเปลือง ข้อต่อ ครับ …เราไปเสียข้อต่อที่เราจำเป็นดีกว่า ….. ท่อ pe มีความ ยืดยุนกว่าท่อพีวีซี ดัดโค้งก็ได้โดยไม่ต้องต่อข้องอ

เราควร เลือกท่อ ให้เข้ากับปั้ม เช่นปั้ม 1.5 แรง ดูดน้ำ นิ้วครึ่ง จ่ายน้ำนิ้วครึ่ง เราก็เลือกใช้ ท่อเทนหลัก ที่นิ้วครึ่ง ตามขนาดปั้ม เพื่อใช้งานปั้มเต็มประสิทธิภาพ

กลับไปดูที่ภาพประกอบนะคับ เราจะเดินท่อเมน นิ้วครึ่ง ตั้งแต่หน้าปั้ม ยาวลงมาตามเส้นสีแดง จนถึง 5 แถว สุดท้าย

พอถึงแปลงก่อน 5 แถวสุดท้าย ให้เราลดขนาดท่อเหลือ 1 นิ้ว เพื่อบีบน้ำส่วนปรายให้แรงที่สุด ( คล้ายการบีบสายยาง เพื่อฉีดน้ำให้ได้ใกล)
จบเรื่องท่อเมน(ท่อหลัก) ….

มาต่อที่ ท่อเข้าแปลงคับ ท่อเข้าแปลง ตามภาพจะเห็นว่ามี 6 ต้น ความยาวแปลงน่าจะ 20 เมตร ขนาดท่อที่เหมาะสม 20-26มิน (4-6หุน) น่าจะเหมาะสมนะคับ
เราก็ต่อ ข้อต่อเข้าแปลงแต่ละแปลงได้เลยคับ ถ้าใช้ท่อ pe เราเรียกว่า แค้มรัดแยก ใช้ประกบท่อ pe แล้วเจาะเชื่อมท่อเมนต่อน้ำออกมาได้เลยคับ ไม่ต้องใช้กาวให้ยุ่งยาก …..

keng ; จบเรื่องท่อ นะคับ มาต่อที่ หัวจ่ายน้ำ หรือ สปริงเกอร์

มีให้เลือกใช้ หลากหลายคับ ทั้งต่อติดท่อ pe หรือ ต่อสาย ไมโคร เพิ่มความยาว
อยากให้ท่าน พิจารณาที่พืชเป็นหลักนะครับ กัญชงตั้งแต่ปลูกจนมีอายุเก็บเกี่ยว 150 วัน ตีไป 5 เดือน 1 เดือนแรก อยู่ในการเพาะเม็ดให้มีขนาดต้นพร้อมย้ายปลูกลงแปลง แปลว่า มีระยะปลูกลงแปลงประมาณ 120 วัน
กัญชงมีความสูงจนเก็บเกี่ยว (ตรงนี้ผมไม่มีข้อมูลแน่ชัด) ขอเดาว่า 1.2 – 1.8 ม.
ไม้ที่มีความสูงขนาดนี้ ต้องมีพุ่มใบที่กว้าง เกิน 1 ม. การจะใช้หัวน้ำหยด จุดเดียวต่อต้น ในแปลงกลางแจ้งไม่น่าจะเพียงพอ
เพราะรากที่ปลูกในแปลงกลางแจ้ง จะขยายตัวเต็มที่ ไม่เหมือนที่ปลูกในกระถาง

น้ำหยด จะมีการกระจายแบบหยดซึม เป็นรูปวงรีแบบแนวตั้ง ซึ้งรากที่แผ่ออกกว้างจะไม่โดนน้ำ
ผมจึงขอแนะนำเป็นแบบ ปริงเกอร์ แบบหัวคว่ำดังภาพ

ลองดูการกระจายน้ำนะคับ จะไม่เหมือนหัวสปริงเกอร์แบบทั่วไปนะคับ หัวแบบทั่วไปจะเน้นที่ รัศมี

แต่หัวแบบคว่ำ จะเน้นเฉพาะจุดคับ การไหลของน้ำ จะเป็นรูป กรวย แบบคว่ำ เพื่อเน้นเฉพาะต้น ข้อดีของหัวแบบนี้คือ เน้น คับ ไม้จะได้รับน้ำเต็มที่ ข้อเสียคือ ไม่กว้าง ….( ใช้เฉพาะ ต้นต่อต้น)

เวลาเลือซื้อ ให้เลือกซื้อแบบ ภาพสุดท้ายคับ
หัวสามารถ ถอดเปลี่ยนได้ทั้งแบบกว้างและแบบแคบ คับ
วิธีต่อเข้าหัวสปริงเกอร์ ต้องใช้ ท่อ ไมโคร ต่อจากท่อเข้าแปลง เข้าสปริงเกอร์ พยายามเผื่อสาย ไมโคร ให้ยาวไว้คับ เมื่อพืชโตขึ้น เราอาจทีการย้ายจุดปัก จะได้ไม่ต้องมาตัดต่อใหม่คับ

 

Cr.อ.ภัทรชัย ; ความรู้เสริม

ขอเริ่มต้นที่ปลายทางเลยนะครับ
-การปลูกต้นไม้ต้องเริ่มที่ต้นไม้ ไม่เริ่มที่ปั๊ม
-ต้องเริ่มว่าต้นไม้ต้องการอะไร
-เหตุที่มีรา เพราะมันชื้น
-ต้องเริ่มตั้งแต่เวลา ต้นไม้เราตัองการอะไร
-เพื่อให้ พอดีๆ ไม่แห้ง ไม่ชื้นไป
การเลือกหัว สปริงเกอร์ จึงเป็นเรื่องแรกที่ควรพิจารณา
ความจริงควรจะเริ่ม ที่เราจะเลือกให้น้ำอย่างไรและทำไม
ถ้าเรามีน้ำเหลือเฝื่อ ขุดคลองเลยคับ

ถ้าไม่มีก็ให้เท่าที่จำเปน เฉพาะจุด เฉพาะที่
ให้มากไป น้ำระเหยหมด เสียของ
ต้นไม้อยู่ดีๆ เอาน้ำไปสาดใส่มัน

เริ่มด้วยการให้ความชื้นที่ดินครับ
ต้นไม้ไม่ได้ต้องการน้ำ
ต้นไม้โดนน้ำ จมน้ำตายคับ
ต้นไม้ ก็ไม่ได้ต้องการความชื้น
ต้นไม้ต้องการ ธาตุอาหารแต่ธาตุอาหารต้องใช้น้ำละลาย
เมื่อน้ำที่ถูกผสมด้วยธาตุอาหารแล้ว พืขจึงจะดูดซึมเข้าไปในลำต้นได้คับ

ดังนั้นการให้น้ำ ไม่ต้องแฉะ
เอาแต่ให้มีธาตุอาหารตามไปกลับน้ำให้ได้เท่านั้น

ภัทรชัย ; ผมเสนอ น้ำหยดครับ ประหยัด สามารถเติมธาตุอาหาร เข้าไปได้ด้วย
ปัจจุบัน ค่าของใช้ในระบบ น้ำหยดราคาลดลงมาก ผลิดในประะเทศมากแล้ว
แน่นอนนว่าต้องทีค่าใช้จ่ายเริ่องการกรองน้ำ
 อาจจะต้องกรอง หลายชั้น หลายครั้ง กว่าจะถึงต้นไม้
แต่เปน operation ที่ทำ อย่างสม่ำเสมอ ทุกวัน ทุกอาทิตย์ ทุกเดือนด้าย
และถ้า maintain อย่างทั่วถึงและ เป็นระบบ ใช้ยาวคับ
ภัทรชัย ; “การทำงานแปลงใหญ่ ต้องทำอย่างเปนระบบ ให้ทราบว่าใครมีหน้าที่ ทำอะไร เมื่อไร แค่ไหน อย่างไร”
“จด บันทึก ตรวจสอบรับรองว่าไม่พลาด
ถ้าทำแบบนี้ จ้างคนก็ง่าย เพราะมี job describtion ให้ปฏิบัติ
คนสั่งงานก็ไม่มั่ว คนรับงานก็เข้าใจ ส่งต่องานง่าย”

 

 

ภัทรชัย ; “เอ้า ถ้าไม่ชอบน้ำหยดจะเอา springer ก็ได้ครับ”
ก่อนอื่นต้องไป อ่านก่อนคับว่า
ภัทรชัย การที่จะให้ สปิงเกอ ทำงานฉีด น้ำกระจุยกระจายนั้นต้องใช้แรงดัน เท่าไร
ถ้าแรงดันน้ำไม่พอ แทนที่ได้ร่มน้ำสวยๆ จะกลายเปนหยดติ๋งๆ
เมื่อทราบแรงดันน้ำก็ต้องคำนวนแรงดันรวมทั้งหมด ของหัวที่มี ไล่น้อย กลับไป สิ้นสุดที่ปัม
ว่าสุดท้าย จะต้องใช้ปัม ขนาดเท่าไร
ภัทรชัย ; “ที่กล้า แทรกเข้ามากลางคันเนี่ย เพราะดูแล้วว่า กลุ่มนี้ เอาจริงเมื่อเห็นว่า อาจจะหลุด ก็ขอ ขัดจังหวะ ขออภัย คุณ keng เปนอยย่างสูง”
นี่ครับ อยากทราบแรงดัน สปริงเกอ
ตามสเปคเลยครับ

  

เลือกเอาเลยคับ เอา สปริงเกอ น้ำพุ่ง ใบพัด ฉีดข้าง ฉีดบนลง ล่าง ฉีดล่าง ขึ้นบน ควงสว่าน กลับหลังหัน ได้ทุกท่าคับ มาถูกที่ ได้ของถูกใจคับ

จบเรื่อง สปริงเกอร์นะครับ …

 

Cr.อ.keng ; ต่อไปเป็นการแบ่งโซนให้น้ำ …

พื้นที่ขนาด 1ไร่ ด้วยข้อจำกัดของปั้ม เราไม่สามารถ จ่ายน้ำได้ทีเดียวทั้งหมด เราจึงต้องมีการแบ่งโซนให้น้ำ

เราต้องแบ่งโซน ก็อย่างที่ อาจารย์ภัทรชัย กล่าวแหละครับ ปั้มทุกตัวจะมี กำลังกำกับด้านข้างปั้ม ด้วยพื้นที่ขนาดตามภาพ หากเราจ่ายน้ำผ่าน สปริงเกอร์ทุกต้น จากน้ำพุ่ง จะเป็นน้ำหยดแทน

เราจึงทำการกำหนดโซนกันครับ ยกตัวอย่างเช่น สนามกอล์ฟ 100-200 ไร่ วางปั้มไม่เกิน 10 ตัว แต่ก็ไม่สามารถจ่ายน้ำพร้อมกันทั้งหมดได้ ต้องทำการแยกโซนแยกหลุมไป เช่นเดียวกับการให้น้ำกลางแจ้ง เราก็ให้เป็นโซนๆไป โดยวิธีค่อมวาว ในแต่ละแปลง

ถ้าใครมีทุนหน่อย อยากสบายๆ ก็ใส่ วาวออโต้ ต่อผ่านตู้ควบคุม ทามเมอร์
ตั้งเวลาเปิดปิด อัตโนมัติ

แต่สำหรับท่านที่ทุนน้อย ก็ใช้วาวแบบหมุนมือเอาคับ อยากให้โซนไหนเปิด ปิด ก็ไปหมุนเอา ……

โดยคำนวนแยกโซนตามแรงปั้ม กับ หัวสปริงเกอร์ เอาครับ
หัวสปริงเกอร์ 1 หัว จ่ายน้ำได้เท่าไหร่ ใน 1 นาที (ให้ดูข้อมูลที่เราซื้อ)
ไปคำนวนกับปั้มที่ใช้คับ เช่นปั้มน้ำมี่เราใช้ มีความสามารถจ่ายน้ำเท่าไหร่ ใน 1 นาที ส่งได้ใกลแค่ไหน เอามาบวกลบ เราก็จะคำนวนได้แบบหยาบๆ ว่าเราจะสามารถใส่หัวได้กี่หัวต่อ 1 โซน ส่วนตัวผมไม่ถนัดด้านคำนวน หรือ ทฤษฎีนะคับ ผมทำ และ ทำ และสังเกตเอาครับ

มาต่อเรื่องหัวน้ำนิดนึ่งนะคับ ที่ผมให้ท่านต่อสาย ไมโคร ให้ยาวไว้ก่อนเพราะเราสามารถเปลี่ยนหัวได้ และย้ายได้ ช่วงแรกตามที่อาจารย์ภัทรชัยกล่าวครับ
ต้นที่เพราะเม็ดก่อนย้ายปลูกลงแปลง ไม่น่าสูงเกิน หัวสปริงเกอร์ อาจจะถูกน้ำได้เมื่อเราเปิดน้ำ ท่านก็แค่เปลี่ยนหัวสปริง เป็นแบบ หัวน้ำหยด ครับ

เมื่อต้นโตขึ้น หากหัวน้ำหยดไม่คลอบคุมขนาดต้น ท่านจะเปลี่ยนเป็นหัวสปิงเกอร์ก็ได้ หรือใช้หัวแบบหยดก็ได้ครับ แต่เราก็ต่อเพิ่มหัวเข้าไปโดยใส่ ข้อต่อที่สายไมโคร แล้วเพิ่มหัวน้ำหยดตามที่ต้องการได้ครับ
ถ้าเราใส่น้ำหยด เราจะได้พื้นที่จ่ายน้ำที่กว้างขึ้นกว่า สปริงเกอร์นะคับ เพราะน้ำไม่เปลืองมาก แต่เราต้อง ต่อ กรองเกษตร หน้าปั้ม เส้นจ่ายน้ำ เพื่อกรอง เศษตะกอนต่างๆ ให้มากที่สุด

เพราะหัวน้ำหยด มีรูออกที่เล็กมาก หากไม่กรอง หัวจะตันได้ง่าย
มันคือการลงทุน เพื่อให้เราลดปัญหา ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในอนาคต แบบที่อาจารย์กล่าวคับ เจ็บแต่จบ เสริมอีกนิดคับ เรื่องปุ๋ย ช่วงย้ายปลูกใหม่ เราไม่สามารถ หว่านปุ๋ยตรงๆได้ ไม่งั้น ไหม้แน่นอน
เราก็เลียนแบบ ระบบ ไฮโด ก็ได้คับ โดยการผสม ในอัตราต่ำกว่ากำหนด แล้วจ่ายผ่านน้ำ ไปตามหัวน้ำหยด ได้เลยครับ โดยวิธีการเบี่ยงน้ำ

ประมาณนี้นะคับ ….. ผมเป็นเกษตรกรคับ ผมชอบการปลูกต้นไม้มาก เก็บรวบรวม สะสมพันธุ์ไม้แปลกๆจากทั่วทุกที่มา 10 กว่าปีละคับ จะคลุกคลีกับ เกษตรรุ่นก่อนๆมามากคับ ผมชอบฟังคนเก่าๆเล่าเรื่องราว มันเหมือนรอยต่อของช่วงเวลา เกษตรกรส่วนมาก มีความสามารถ มีความขยันเป็นทุนเดิม มีต้นทุนการผลิตที่น้อย การจะไปเปลี่ยนความคิดเขายากมากครับ เพราะเขาทุนไม่ถึง และเขาไม่ได้ตัวคนเดียว เขามีครอบครัว ฉนั้นทุกความเสี่ยงของเขา มันหมายถึง ชีวิต
การที่เราตั้งกรอบต้นทุนการผลิตที่สูง ก็เท่ากับ ปิดประตูใส่เขา ผมจึงอยากปลูกแบบ กลางแจ้ง ที่ต้นทุนไม่สูงมาก เพื่อทำให้พวกเขา สามารถเข้าถึง
นี่คือ เมนหลัก ที่ผมตั้งใจจะช่วยครับ ปีแรก จะปลูกทดลองให้เขาเห็นก่อน คนเหล่านี้ ถ้าไม่เห็นด้วยตา ไม่ทีทางเชื่ออะไรง่ายๆ …. ปลูกให้เห็น ขายให้ดู ทุกวันนี้ก็ทำให้ดูครับ ช่วยไปหลายคนละครับ ส่วนมากจะเป็นเรื่องไม้ผล ที่นำเข้า แล้วผมปลูกแล้วติดผล ขายออกได้ ทั้งต้นพันธุ์ และผลิต …..

 

 

….not finish….coming soon….

 

สรุป ; ตัวอย่างระบบรดน้ำCr.อ.keng

  • ถ้าเป็นน้ำบาดาล น้ำลึก ให้แยก น้ำดิบ กับน้ำดีคับ

    ตัดถังปูนขาวออก

  • ถังผสมปุ๋ย ใช้วิธี ผสมแยก แล้วใช้ วาวเบี่ยงน้ำ ให้ปุ๋ยน้ำแทนคับ จะลดค่าใช้จ่ายได้ดี

  • ฝังปลูก ขนาดแปลงตามภาพ แนะนำ ปั้ม 2” 2 แรง ครับ

ใช้ท่อเมน 2” เดินยาว 10 เมตรสุดท้าย บีบท่อเป็น นิ้วครึ่ง เพื่อรีดน้ำ แบ่งโซนน้ำได้ 4 -5โซน ตามการคำนวนแรงปั้ม

หัวสปริงเกอร์ ใช้แบบ มินิ ต้นต่อต้น เปลี่ยนหัวน้ำ เป็นแบบ ถ้วยกลับหัว เพื่อไม่ให้น้ำจ่ายนอกต้น

ถ้าเป็นแบบ บอลวาว จะต้อง เดินเปิดปิดโซนน้ำด้วยตัวเอง ข้อดีคือ จะเห็น และ ดูแล ไม้ได้ดี

แต่ถ้า ขี้เกียจ ให้เป็น บอลวาวเป็น โซลินอยวาว เพื่อต่อระบบ เป็บแบบ ออร์โต้ ควบคุมการเปิดปิดน้ำในแบบ อัตโนมัติ

ควบคุมระบบด้วย timer …. ตั้งเวลา เปิดปิด กำหนดเวลาจ่ายน้ำ อัตโนมัติ

ภาพลักษณะ การต่อ timer ควบคุม ระบบน้ำ อย่างง่ายๆ คับ

 

เรื่องรายละเอียดทาง วิชาการ ผมไม่แม่นนะคับ ขออธิบายแบบ ประสบการณ์ตรงคับ ส่วนมากเวลาผมไปแก้ไข เรื่องระบบน้ำ ให้ลูกค้าส่วนมาก จะพบปัญหาเดิมๆคือ ดึงน้ำขึ้นจากใต้ดิน แล้วใช้รดน้ำโดยตรง ไม่ผ่านการกรอง ผลคือ มีคราบตระกอนเกาะใบ และลำต้น ล้างไม่ออก คือตระกอน หินปูน สนิมเหล็ก(แดง) ทำให้พืชโตช้า อีกปัญหาคือ เมื่อดึงน้ำดิบขึ้นบ่อพัก แล้วต่อเข้ากับระบบ สปริงเกอร์ จะทำให้อุดตันได้ง่าย

วิธีทำให้ดึงน้ำบาลดาล ผ่านตระแกรง ก่อนลงถังพักใบแรก เราเรียกว่าถังพักน้ำดิบ แล้วดันน้ำผ่านถังกรอง(สาร) เพื่อเก็บในถังน้ำดี ก่อนใช้กับ ต้นไม้ …. ถ้าข้อมูลผมไม่ผิดมาก กัญชง เป็นพืช อายุสั้น ต้นไม่โตมาก การให้น้ำควรเป็นแบบ ต้นต่อต้น ใช้ ปริงเกอร์แบบควบคุม วิถี น้ำ ถ้าใช้น้ำไม่กรอง สปริงเกอร์จะมีปัญหา และถ้าใช้น้ำแบบ สาดกระจาย ผมคิดว่าตอนต้นออกดอก จะมีผลกระทบ

ถ้าปลูกในถุง หรือกระสอบ ใช้ระบบน้ำหยดได้คับ เพราะน้ำจะอยู่จำกัดในวัสดุปลูก แต่ถ้ากลางแจ้ง ผมแนะนำเป็น มินิแบบปักคับ ลักษณะน้ำจะเป็นแบบ สามเหลี่ยม น่าจะคลอบคลุมรากรอบต้น

This site is registered on wpml.org as a development site.