กัญชงมี 2 สายพันธุ์
1.พันธุ์ออโต้(Auto)พืชออโต้ไม่ขึ้นกับจำนวนแสงสว่างตามฤดูกาล จึงปลูกได้ตลอดทั้งปี
2.พันธุ์โฟโต้(Photo)ขึ้นกับจำนวนแสงสว่างตามฤดูกาล ต้องมีความรู้เรื่องแสงบ้างจึงวางแผนการปลูกได้
-
Cr.อ.วิฑูร ; ความแตกต่างคร่าวๆ ;
พันธุ์ออโต้อายุ 12 สัปดาห์ เท่ากับ 84 วัน หรือเกือบ 3 เดือน (90 วัน)
เป็นเรื่องปรกติที่พืชออโต้ จะเริ่มออกดอกเก็บเกี่ยวได้แล้ว
ส่วนพืชโฟโต้ จะออกดอกเมื่ออายุมากกว่าพืชออโต้หนึ่งเดือน
หมายถึง พืชโฟโต้มีอายุเก็บเกี่ยวราว 4 เดือน (120 วัน)ส่วนความสูง พืชออโต้และโฟโต้ สูงตั้งแต่ 1.50-2.00 เมตร
ช่อดอกต่อต้น พืชโฟโต้มากกว่าพืชออโต้ เพราะต้นใหญ่กว่า
ทั้งนี้ ขึ้นกับวิธีและเทคนิคในการเลี้ยงพืชต่างสายพันธุ์ด้วย
…………….
-
การวางแผนปลูกกัญชง Cr.วิฑูร
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแสงและกัญชงจึงวางแผนให้ออกดอกและเก็บเกี่ยวได้(คลิกหรือกดดูตรงนี้เพื่อดูความรู้เกี่ยวกับแสง)
พืชทั่วไป ทั้งล้มลุกและยืนต้น
ตกอยู่ใน “ห้าวงจรของการออกดอก!”
-พืชวันสั้น (จากเดือน 6-12)
-พืชวันยาว (จากเดือน 12 -6)
-พืชวันสั้นต่อด้วยวันยาว (คาบเดือน 10-2)
-พืชวันยาวต่อด้วยวันสั้น (คาบเดือน 4-8)
-พืชออโต้
พืชกัญชงจัดอยู่ในพืชวันสั้น!
ทั้งนี้ต้องคำนึงปัจจัยอื่นๆด้วย
อาจมีการผันแปรได้ ได้ไม่หนีกฎเกณฑ์ข้างต้น!
ปลูกพืชโฟโต้เริ่มเดือนสิงหาคม
เมื่อเข้าเดือน 11/12
พืชที่มี critical day length ที่ 11:45
ก็สามารถออกดอกได้
เพียงดูแลพืชให้โตเต็มที่
เก็บเกี่ยวได้!
- เมล็ดพันธ์ุที่นำเข้ามาของวีโพรฯ
พืช photo ออกดอกใช้เวลา 100-120 วัน
พืช auto ออกดอกใช้เวลา 75-90 วัน
หากปลูกสลับ ก็ให้นับถอยหลังถึงเวลาปลูก
เว้นช่วงเก็บเกี่ยวและเตรียมการสักระยะตามสะดวก
ส่วนความร้อนในฤดูร้อนต้องดูอุณหภูมิท้องถิ่นประกอบ
สายพันธุ์ที่นำเข้าทนอุณหภูมิได้สูงกว่า 90 องศาเอฟ (32 องศาเซลเซียส)
และความชื้นสัมพัทธ์ได้มากกว่า 65%
อยากให้ทดลองดูสภาพต่างๆในฤดูกาลเก็บเกี่ยวแรก
- การขลิบเมล็ด-ปรกติไม่ขลิบ เพราะต้องใช้เวลาขริบทุกเมล็ดและอาจทำลายส่วนสำคัญของเมล็ดพืชได้
.
ประสบการณ์การเพาะต้นกล้าแล้วลงโรงเรือน
Cr.คุณkhomsun(รูปตอนนิรโทษกรรม)
รูปต้นกล้าในกะบะ
แล้วแยกลงกระถางเล็ก 4 -5 นิ้ว ดูแลในโรงเรือนต่อไป ให้สูง 20 นิ้ว ขึ้นไปค่อยออกปลูกกลางแจ้ง
(ตอนนิรโทษกรรม)ต้นที่ทำได้สูงสุดที่ผมทำได้คือ 800 g ค่าเฉลี่ยทุกต้นคือ 500 +++ g
ประสบการณ์การเพาะเมล็ด
Cr.คุณฉัตร#หนุ่ม
–ที่ 4 วัน (ต้นอ่อนต้นนี้ มาจากการทดลองการเพาะเมล็ดแบบลดขั้นตอน การงอกเลียนแบบเมล็ดที่ตกลงดินโดยไม่ตั้งใจนะครับ)
–ลองเอาเมล็ดใส่ในน้ำ ช่วงแรกเมล็ดลอยน้ำดังภาพ
ต่อมา เมื่อผ่านไปช่วงข้ามคืนมาเขย่าขวดอีกครั้งปรากฎว่า น้ำซึมเข้าภายในเมล็ดแล้วมีน้ำหนักมากขึ้น จมน้ำเลยครับเมล็ด ไม่ต่างจากถั่วเขียวถั่วงอกเลยครับ สำหรับช่วงวัฎจักรวงจรชีวิต นะครับ
–ที่ 5 วัน
(Cr.คุณเต๋า)ช่วงจังหวะนี้ขาดแสง ลำต้นจะยืด ทำให้อ่อนแอ
แต่ร้อนมากไม่ได้ สรุปต้องมีแสง
–ที่ 5 วัน
Cr.คุณวิฑูร
หยดน้ำมาจากการที่พืชหายใจ (respiration) 24 ชั่วโมง ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ (คายน้ำ) ; หากเป็นกลางวัน พืชก็ใช้คาร์บอนไดออกไซด์นี้ (ส่วนหนึ่ง) และน้ำนี้ (ส่วนหนึ่ง) จากการหายใจไปสร้างอาหาร (photosynthesis) ; หากเป็นกลางคืน น้ำส่วนนี้ยังเหลืออยู่ พืชก็คายออกมา ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์พืชก็ปล่อยสู่อากาศ
–ที่ 6 วัน
Cr.คุณฉัตร#หนุ่ม
ต้นอ่อนทนแดดมากครับ ไม่แสดงอาการแพ้แดดเลยครับ
ผิววัสดุเพาะเริ่มแห้งครับ ประมาณ 1 มม. แต่ระดับเมล็ดที่ฝังอยู่ที่ 20 มม. คาดว่าจะยังแห้งไม่ถึงภายในวันนี้ หากคืนนี้มอสสามารถดึงน้ำจากอากาศหรืออาจมาจากการคายน้ำของพืชได้ก้อจะดูสภาพผิววัสดุปลูกอีกครั้งครับ
–ที่ 6 วัน
Cr.คุณฉัตร#หนุ่ม
พีชมอสดึงน้ำขึ้นมาได้จริงครับ น้ำไม่ต้องรด ซึมซับขึ้นมาเองได้ครับ
ข้อดีอีกประการของการเพาะต้นกล้าด้วยกระถางอีกข้อ เหมาะสำหรับยกไปยกมา จับก็ง่ายรากก็ไม่เทือน ไม่เหมือนถุงดำ ราคาถูกก็จริงอยู่ แต่ก็แย่เหมือนกันหากยกไปยกมานะครับ
วันนี้ช่วงบ่ายๆ แดดแรงมาก และร้อนสามารถรู้สึกได้ ผิววัสดุเพาะบริเวณด้านบนไม่แห้งมาก ผิวกระถางมีอุณภูมิสูงขึ้นสัมพัสได้ ปรากฎว่าลำต้นของพืชทำท่าเสียการทรงตัวเอนลง จึงรีบนำไปกระถางนั้นไปให้น้ำโดยวิธีฯ ผ่านไปสองชั่วโมง พบว่า เข้าแถวยืนตรงเช่นเดิมครับ
—ที่ 8 วัน